สช. จัดการอบรมเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนที่เป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

20 ก.ย. 67 เวลา 15:23 น.355 ครั้งพิมพ์
นิชาดา บรรเด็จ
กลุ่มเลขานุการกรม

วันนี้ (20 ก.ย. 67) นายวิรัช ลิ้มเจริญสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน เป็นประธานจัดการอบรมเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนที่เป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมี นางภัทราพรรณ เล็งวัฒนากิจ ผู้อำนวยการกลุ่มงานโรงเรียนสามัญศึกษา ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม HE. Mr. Danny Annan Ms. Angelika Cullen Ms. Jenny Hudson Vismark เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเดนมาร์กประจำประเทศไทย พร้อมด้วย คณะวิทยากร คณะผู้บริหาร ครู และบุคลากรโรงเรียนเอกชน เข้าร่วมการอบรม ณ โรงแรมดิไอเดิล เซอร์วิส เรสซิเดนซ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

 

นายวิรัช ลิ้มเจริญสุข กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มเติม 12 จังหวัด รวมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่มีการจัดตั้งแล้ว 8 จังหวัด ส่งผลให้ปัจจุบันมีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งสิ้น 20 จังหวัด และมีโรงเรียนเอกชนที่เป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอยู่ 176 โรง ใน 18 จังหวัด ซึ่งสถานศึกษาที่ได้รับการประกาศให้เป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 20 จังหวัดนั้น สามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยสามารถมีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น หรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง มีกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยสามารถเลือกใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมาย และบริบทของโรงเรียนได้อย่างอิสระ

 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้แก่ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน ส่งเสริมให้โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาสมรรถนะผู้เรียน มีระบบการวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง กับผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ ตลอดจนมีอิสระในการกำหนดทิศทางและพัฒนาการจัดการศึกษาตามบริบทของโรงเรียนและพื้นที่ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนจากการเป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จึงทำให้เกิดกิจกรรมการอบรมในวันนี้ขึ้น โดยคาดหวังว่า  โรงเรียนเอกชนที่เป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จะสามารถเลือกใช้หลักสูตร และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ตรงกับเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบท และความต้องการของโรงเรียนมากที่สุด และสามารถมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการขับเคลื่อนในพื้นที่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนในโรงเรียนต่อไป นายวิรัช กล่าวทิ้งท้าย

 

การอบรมครั้งนี้ัผู้เข้าอบรมในวันนี้ประกอบด้วย ข้าราชการจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 18 จังหวัด และผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนที่เป็นสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 144 โรง รวมผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น จำนวน 330 คน โดยการอบรมครั้งนี้มีระยะเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 20 – 22 กันยายน 2567 โดยในวันแรก เป็นการบรรยายและอภิปรายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศเดนมาร์ก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้โรงเรียนนำร่องได้มองเห็นทิศทางในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

 

#เรียนดีมีความสุข #ศธ #สช #Opec #propec #การศึกษาเอกชน #โรงเรียนเอกชน #ทำดีทำได้ทำทันที

รายการกิจกรรมผู้บริหารอื่นๆ