สถานที่/ช่องทางการให้บริการ |
ระยะเวลาเปิดให้บริการ |
ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน ได้ดังนี้ 1. กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์: 2. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน 3. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/อำเภอ ที่จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน |
เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ |
1. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
2. กฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการ และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้ป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555 ให้ไว้ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555
3. กฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการ และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ให้ไว้ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
4. กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2553 ให้ไว้ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
5. กฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุุญาต ใบอนุุญาตใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนัังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2564 ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
6. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต การออกใบรับรอง และการออกใบแทนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2564 ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
7. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการกำหนดจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในระบบ พ.ศ. 2551 ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน 2551
8. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการกำหนดจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในระบบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
9. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการกำหนดจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในระบบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565
10. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งผู้จัดการ พ.ศ. 2551 ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
11. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งผู้จัดการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
12. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง กำหนดประเภทและระดับของโรงเรียนในระบบ ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
13. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง กำหนดประเภทและระดับของโรงเรียนในระบบ (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
14. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทำตราสารจัดตั้ง รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบ ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556
15. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดจำนวนและคุณสมบัติของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนในระบบ ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
ขั้นตอนที่ 1 การขอรับใบอนุญาจให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
มาตรา 19 วรรคสอง ระบุว่า ผู้อนุญาตจะต้องพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
ขั้นตอนที่ 2 การแจ้งขอเปิดดำเนินกิจการโรงเรียน
กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการ จึงอ้างอิงจากพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการไว้ 15 วัน
ขั้นตอนที่ 1 การขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
ประชาชนทั่วไป
ขั้นตอนที่ 2 การแจ้งขอเปิดดำเนินกิจการโรงเรียน
ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
1. คุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
• กรณี ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบเป็นบุคคลธรรมดา
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
4. มีความประพฤติเรียบร้อยไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
5. เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
7. ไม่เคยถูกออกจากราชการโดยมีความผิด เว้นแต่ได้ถูกออกจากราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
8. ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน เว้นแต่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
10. ไม่เคยได้รับโทษจำคุุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้พ้นโทษมาแล้วไม่ถึงห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
• กรณี ผู้ขอรับใบอนุุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคล
1. มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา เว้นแต่นิติบุคคลที่ขอจัดตั้งนั้นเป็นองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
2. นิติบุคคลที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วน ต้องมีจำนวนหุ้นหรือทุนเป็นของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้น หรือทุนทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
3. นิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารทั้งหมด
4. นิติบุคคลที่เป็นสมาคมหรือสหกรณ์ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และสมาชิกของสมาคมหรือสหกรณ์ต้องมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
5. ผู้จัดการของนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่เป็นบุคคลธรรมดา
2. ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ต้องก่อสร้างอาคารให้เสร็จเรียบร้อยก่อนยื่นคำขอจัดตั้งโรงเรียนในปีการศึกษานั้น โดยการก่อสร้างอาคารจะต้องได้รับอนุญาตการก่อสร้างจากทางราชการที่รับผิดชอบ เช่น สำนักงานเทศบาล สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา และจะต้องก่อสร้างให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น สำเนาใบรับรองการก่อสร้างอาคาร การดัดแปลง หรือการเคลื่อนย้ายอาคารประเภทควบคุมการใช้ (แบบ อ.5) หรือสำเนาใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ อ.4) ที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ โดยระบุให้ใช้เป็นอาคาร เพื่อการศึกษา หรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กำหนด และตามกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการ และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555 ให้ไว้ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555
3. ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนต้องยื่นขอตรวจสอบชื่อผ่านระบบศูนย์บริการการศึกษาเอกชนออนไลน์ (PESO)
ขั้นตอนที่ 1 การขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
- ระยะเวลาในการดำเนินการรวม 30 วัน
หมายเหตุ : ระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน / สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด/ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ แต่ระยะเวลาทั้งหมดรวมแล้วไม่เกิน 30 วัน
ขั้นตอนที่ 2 การแจ้งเปิดดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบ
ลำดับ |
ขั้นตอน |
ระยะเวลา |
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ |
1 |
การตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร รายละเอียด : ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 |
1 วัน
|
1. กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์: 2. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ 3. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/อำเภอ ที่โรงเรียนตั้งอยู่ สำหรับจังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา
|
การตรวจพิจารณาเอกสาร รายละเอียด: พิจารณาความถูกต้องของเอกสาร |
7 วัน
|
||
3
|
การลงนามรับทราบการเปิดดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบ รายละเอียด: จัดทำร่างหนังสือรับทราบการเปิดดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบ พร้อมเสนอความเห็นต่อผู้อนุญาตพิจารณาลงนามในหนังสือรับทราบให้เปิดดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบ
|
5 วัน
|
|
4
|
การแจ้งผลการพิจารณา รายละเอียด: แจ้งผลการพิจารณารับทราบการเปิดดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบให้แก่ผู้รับใบอนุญาตทราบ
|
2 วัน
|
- ระยะเวลาในการดำเนินการรวม 15 วัน
หมายเหตุ : ระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน / สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด/ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ แต่ระยะเวลาทั้งหมดรวมแล้วไม่เกิน 15 วัน
ขั้นตอนที่ 1 การขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
• กรณี ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบเป็นบุคคลธรรมดา
1. คำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ (แบบ สช. 1) จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนาหลักฐานการสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 1 ฉบับ
5. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 เซนติเมตร ซึ่งเป็นรูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีเข้ม และไม่ใส่ผ้าโพกศีรษะเว้นแต่ผู้ซึ่งมีความจำเป็นตามศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาของตน และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกินหกเดือน จำนวน 2 รูป
6. ตราสารจัดตั้งโรงเรียนในระบบ จำนวน 2 ฉบับ (กรณีส่วนภูมิภาค จำนวน 3 ฉบับ)
7. รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบ จำนวน 2 ฉบับ (กรณีส่วนภูมิภาค จำนวน 3 ฉบับ)
8. หลักฐานที่แสดงได้ว่าเมื่อได้รัับอนุุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบแล้ว โรงเรียนในระบบจะได้รับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน หรือสิทธิเหนือพื้นดิน หรือสิทธิเก็บกินที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีหรือสิทธิการเช่าที่มีสัญญาเช่าไม่น้อยกว่่าสิบปีพร้อมสำเนา (โฉนดที่ดิน หรือหลักฐานที่แสดงกรรมสิทธิ์ หรือหนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน หรือสิทธิเหนือพื้นดิน หรือสิทธิเก็บกินที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี หรือสิทธิการเช่าไม่น้อยกว่าสิบปี พร้อมสำเนา นับแต่วันที่โรงเรียนในระบบได้รับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ในกรณีที่ที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนในระบบเป็นที่ดินของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ วัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์หรือองค์กรทางศาสนาอื่น ผู้ขอรับใบอนุญาตจะแสดงหลักฐานการอนุญาตให้ใช้ที่ดินอย่างอื่นที่มิใช่สัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าที่มีระยะเวลาน้อยกว่าสิบปีก็ได้ จำนวน 1 ฉบับ
9. สำเนาใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือสำเนาใบอนุญาตเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ จำนวน 1 ฉบับ
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาจเรียกดูสำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนและตรวจสอบเอกสารประกอบการขอใช้ชื่อโรงเรียนเพื่อประกอบการพิจารณา
• กรณี ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคล
1. คำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรีียนในระบบ (แบบ สช. 1) จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคล จำนวน 1 ฉบับ
3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ของผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคล) จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนาหลักฐานการสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ของผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุุคคล) จำนวน 1 ฉบับ
5. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนของนิติบุคคล พร้อมวัตถุประสงค์ จำนวน 1 ฉบับ
6. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สำหรับนิติบุคคลที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัดหรือสำเนาบัญชีรายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วน สำหรับนิติบุคคลที่เป็นห้างหุ้นส่วน จำนวน 1 ฉบับ
7. รายชื่อและสัญชาติของกรรมการ สำหรับนิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิ สมาคมหรือสหกรณ์ จำนวน 1 ฉบับ
8. รายชื่อและสัญชาติของสมาชิกทุกคน สำหรับนิติบุคคลที่เป็นสมาคม หรือสหกรณ์ จำนวน 1 ฉบับ
9. หนังสือมอบอำนาจของผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลให้เป็นผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลเพื่อขอรับใบอนุุญาต จำนวน 1 ฉบับ
10. ตราสารจัดตั้งโรงเรียนในระบบ จำนวน 2 ฉบับ (กรณีส่วนภูมิภาค จำนวน 3 ฉบับ)
11. รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบ จำนวน 2 ฉบับ (กรณีส่วนภูมิภาค จำนวน 3 ฉบับ)
12. หลักฐานที่แสดงได้ว่าเมื่อได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบแล้ว โรงเรียนจะได้รับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน หรือสิทธิเหนือพื้นดิน หรือสิทธิเก็บกินที่มี กำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีหรือสิทธิการเช่าไม่น้อยกว่าสิบปีพร้อมสำเนา (โฉนดที่ดิน หรือหลักฐานที่แสดงกรรมสิทธิ์ หรือหนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน หรือสิทธิเหนือพื้นดิน หรือสิทธิเก็บกินที่่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี หรือสิทธิการเช่าไม่น้อยกว่าสิบปี พร้อมสำเนา นับแต่วันที่โรงเรียนได้รับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ในกรณีที่ที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนในระบบเป็นที่ดินของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ วัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์หรือองค์กรทางศาสนาอื่น ผู้ขอรับใบอนุญาตจะแสดงหลักฐานการอนุญาตให้ใช้ที่ดินอย่างอื่นที่มิใช่สัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าที่มีระยะเวลาน้อยกว่าสิบปีก็ได้ จำนวน 1 ฉบับ
13. สำเนาใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือสำเนาใบอนุญาตเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ จำนวน 1 ฉบับ
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาจเรียกดูสำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนและตรวจสอบเอกสารประกอบการขอใช้ชื่อโรงเรียนเพื่อประกอบการพิจารณา
ขั้นตอนที่ 2 การแจ้งขอเปิดดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบ
เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าได้ดำเนินการตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนในระบบ จะต้องชำะค่ายื่นคำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ (แบบ สช.1) 500 บาท และเมื่อได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบจะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ (แบบ สช. 2) 5,000 บาท
โดยสามารถติดต่อชำระค่าธรรมเนียมได้ที่
1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่ : ฝ่ายการคลัง กลุ่มงานเลขานุการกรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
319 กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์: 0 2282 8868-9
2. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่จะขออนุญาตจัดตั้ง ยกเว้น จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา
3. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/อำเภอ ที่จะขออนุญาตจัดตั้ง สำหรับจังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา
ลำดับ |
ช่องทางการร้องเรียน / แนะนำบริการ |
1 |
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เลขที่ 319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ : สายด่วน 1693 อีเมล : www.saraban@opec.go.th |
2
|
ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ โทรศัพท์ : สายด่วน 1579 เว็บไซต์ : www.1579.moe.go.th |