สถานที่/ช่องทางการให้บริการ |
ระยะเวลาเปิดให้บริการ |
ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน ได้ดังนี้ 1. กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์: 2. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่จะขออนุญาต 3. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/อำเภอ ที่จะขออนุญาตสำหรับจังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี
|
เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ |
1. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
2. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2561 ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการ จึงอ้างอิงจากพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการไว้ 15 วัน
- ประชาชนทั่วไป
- โรงเรียนในระบบ
การขอโอนและรับโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ โรงเรียนต้องยื่นคำขอโอนและรับโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชน (แบบ อ.1)
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อประกอบการพิจารณา และชำระค่ายื่นคำขอ 100 บาท ซึ่งการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีผู้รับใบอนุญาตยังมีชีวิตอยู่
2. กรณีผู้รับใบอนุญาตถึงแก่ความตาย หรือเป็นคนสาบสูญ หรือได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีผู้ใดได้รับข่าว
ในกรณีนี้เป็นกรณีที่ไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้รับใบอนุญาต แบ่งย่อยออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีที่ทายาทมีความประสงค์จะดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบต่อไป ให้ทายาท หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งโดยทายาทหรือผู้จัดการมรดก แล้วแต่กรณี ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ระบุไว้ในคุณสมบัติของผู้ขอรับโอนใบอนุญาต ยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตาย สาบสูญ หรือวันที่ครบหนึ่งปีที่ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ถ้ามิได้ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนด ให้ผู้อนุญาตมีคำสั่งควบคุมโรงเรียนในระบบตามมาตรา 96
2. กรณีที่ทายาทไม่ประสงค์จะดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบนั้นต่อไป ให้ทายาทยื่นคำขอเลิกกิจการโรงเรียนในระบบ หรือโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบให้บุคคลอื่น ซึ่งสามารถโอนใบอนุญาต ให้ผู้ขอรับโอนใบอนุญาตได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
คุณสมบัติของผู้ขอรับโอน ทั้งกรณีผู้รับใบอนุญาตยังมีชีวิตอยู่และกรณีผู้รับใบอนุญาตถึงแก่ความตาย หรือเป็นคนสาบสูญ หรือได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีผู้ใดได้รับข่าว จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
- กรณีผู้ขอรับโอนใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
4. มีความประพฤติเรียบร้อยไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
5. เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
7. ไม่เคยถูกออกจากราชการโดยมีความผิด เว้นแต่ได้ถูกออกจากราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันขอรับโอนกิจการโรงเรียน
8. ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน เว้นแต่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันขอรับโอนกิจการ
9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
10. ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษา ถึงที่สุดให้จำคุกและได้พ้นโทษมาแล้วไม่ถึงห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- กรณีผู้ขอรับโอนใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล
1. มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา เว้นแต่นิติบุคคลที่ขอจัดตั้งนั้น เป็นองค์กรของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
2. นิติบุคคลที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วน ต้องมีจำนวนหุ้นหรือทุนเป็นของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นหรือทุนทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
3. นิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารทั้งหมด
4. นิติบุคคลที่เป็นสมาคมหรือสหกรณ์ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และสมาชิกของสมาคมหรือสหกรณ์ต้องมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
5. ผู้จัดการของนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรณีผู้ขอรับโอนใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา
ลำดับ |
ขั้นตอน |
ระยะเวลา |
กลุ่มงานที่รับผิดชอบ |
1 |
การตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร รายละเอียด : ตรวจสอบความครบถ้วนของคำขอโอนและรับโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ (แบบ อ.1) พร้อมด้วยเอกสารประกอบ |
1 วัน |
1. กรุงเทพมหานคร กลุ่มงานโรงเรียนสามัญศึกษา/กลุ่มงานโรงเรียนนโยบายพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โทรศัพท์: 2. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด 3. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา |
การตรวจพิจารณาเอกสาร รายละเอียด: พิจารณาความถูกต้อง |
7 วัน |
||
3 |
การลงนามใบอนุญาต รายละเอียด: จัดทำร่างใบอนุญาตให้รับโอนโรงเรียนในระบบ (แบบ อ.3) พร้อมเสนอความเห็นต่อผู้อนุญาตพิจารณาลงนามใบอนุญาตให้รับโอนโรงเรียนในระบบ (แบบ อ.3) |
5 วัน |
|
4 |
การแจ้งผลการพิจารณา รายละเอียด: แจ้งผลการพิจารณา |
2 วัน |
- ระยะเวลาในการดำเนินการรวม 15 วัน
หมายเหตุ : ระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน / สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด/ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ แต่ระยะเวลาทั้งหมดรวมแล้วไม่เกิน 15 วัน
1. กรณีผู้ขอรับโอนใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา
1. คำขอโอนและรับโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ (แบบ อ.1) จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาหลักฐานที่แสดงว่าโรงเรียนได้รับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิทธิเหนือพื้นดินหรือสิทธิเก็บกินหรือสิทธิการเช่าแล้ว จำนวน 1 ฉบับ
3. สำเนาตราสารจัดตั้ง (ตราสารจัดตั้งฉบับเดิมจนถึงฉบับที่มีการเปลี่ยนแปลงล่าสุด) จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนารายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียน (รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนฉบับเดิมจนถึงฉบับที่มีการเปลี่ยนแปลงล่าสุด) จำนวน 1 ฉบับ
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
6. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
7. สำเนาหลักฐานการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 1 ฉบับ
8. รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 4 x 6 เซนติเมตร จำนวน 2 รูป
2. กรณีผู้ขอรับโอนใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล
1. คำขอโอนและรับโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ (แบบ อ.1) จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาหลักฐานที่แสดงว่าโรงเรียนได้รับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิทธิเหนือพื้นดินหรือสิทธิเก็บกินหรือสิทธิการเช่าแล้ว จำนวน 1 ฉบับ
3. สำเนาตราสารจัดตั้ง (ตราสารจัดตั้งฉบับเดิมจนถึงฉบับที่มีการเปลี่ยนแปลงล่าสุด) จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนารายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียน (รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนฉบับเดิมจนถึงฉบับที่มีการเปลี่ยนแปลงล่าสุด) จำนวน 1 ฉบับ
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคล) จำนวน 1 ฉบับ
6. สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคล) จำนวน 1 ฉบับ
7. สำเนาหลักฐานการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคล) จำนวน 1 ฉบับ
8. สำเนาสำคัญแสดงการจดทะเบียนของนิติบุคคล พร้อมด้วยวัตถุประสงค์ จำนวน 1 ฉบับ
9. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น กรณีนิติบุคลเป็นบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด จำนวน 1 ฉบับ
10. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วน กรณีนิติบุคลเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำนวน 1 ฉบับ
11. สำเนารายชื่อและสัญชาติของกรรมการ กรณีนิติบุคคลเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือสหกรณ์ จำนวน 1 ฉบับ
12. สำเนารายชื่อและสัญชาติของสมาชิกทุกคน กรณีนิติบุคคลเป็นสมาคม หรือสหกรณ์
13. สำเนาหนังสือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลให้เป็นผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารของผู้ขอโอนประกอบการพิจารณา ดังนี้
1. กรณีผู้รับใบอนุญาตถึงแก่ความตายอาจเรียกใบมรณบัตร และคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือหนังสือยินยอมจากทายาททุกคนที่ลงลายมือชื่อแล้วพร้อมเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
2. กรณีผู้รับใบอนุญาตเป็นคนสาบสูญหรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่อาจเรียก คำสั่งศาลให้ผู้รับใบอนุญาตเป็นคนสาบสูญ และคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หรือหนังสือยินยอมจากทายาททุกคนที่ลงลายมือชื่อแล้ว พร้อมเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
ชำระค่ายื่นคำขอโอนและรับโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ (แบบ อ.1) จำนวน 100 บาท โดยสามารถติดต่อชำระค่าธรรมเนียมได้ที่
1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่ : ฝ่ายการคลัง กลุ่มงานเลขานุการกรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
319 กระทรวงศึกษาธิการ แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์: 0 2282 8868-9
2. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่จะขออนุญาต ยกเว้น จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา
3. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/อำเภอ ที่จะขออนุญาต สำหรับจังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา
ลำดับ |
ช่องทางการร้องเรียน/แนะนำบริการ |
1 |
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน |
2
|
ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ |