วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา จัดโครงการพัฒนาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 แบบบูรณาการตามบริบทพื้นที่ของสถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง กิจกรรมจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 และหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2546 รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 6 - 8 มิถุนายน2566 โดยมี ดร.ประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นประธานในพิธีเปิด นายวิทยาศิลป์ สะอา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลากล่าวรายงาน โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.เพื่อพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 สู่การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนด้านอิสลามศึกษา
2.เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มวิชาสามัญศึกษา (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา) และอิสลามศึกษา
โดยจัดทั้งหมด 3 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย คือ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และอิสลามศึกษา ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และครูผู้สอนอิสลามศึกษาระดับชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-8 มิถุนายน 2566 กลุ่มเป้าหมาย คือ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และครูผู้สอนอิสลามศึกษาระดับชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1
รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2566 กลุ่มเป้าหมาย คือ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และครูผู้สอนอิสลามศึกษาระดับชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1
ซึ่งผลลัพธ์ของการดำเนินการโครงการครั้งนี้ คือ 1. ครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สอนวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และอิสลามศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่ปรับตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 2. สถานศึกษานำร่องมีหลักสูตรสถานศึกษาแบบบูรณาการสามารถนำไปใช้ในการดำเนินการบริหารวิชาการและจัดการเรียนการสอน