สช. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)” ณ จังหวัดอุดรธานี

23 ก.ค. 67 เวลา 10:46 น.484 ครั้งพิมพ์
นิชาดา บรรเด็จ
กลุ่มเลขานุการกรม

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2567 นางภัทราพรรณ เล็งวัฒนากิจ ผู้อำนวยการกลุ่มงานโรงเรียนสามัญศึกษา เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยมี นางสาวนภลภัส รัตนกิจ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มงานโรงเรียนสามัญศึกษา พร้อมด้วยคณะวิทยากร ครูโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมอบรม ณ โรงแรมนภาลัย อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

 

นางภัทราพรรณ เล็งวัฒนากิจ กล่าวว่า ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ มีจุดเน้นและนโยบายที่กำหนดให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน รวมทั้งบ่มเพาะให้ผู้เรียนภาคภูมิใจ รักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดกทางปัญญา รักษา สืบสานและต่อยอด และนำมาปรับประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน โดยได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดเวลาเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ระดับประถมศึกษา 40 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40 ชั่วโมงต่อปี (1 หน่วยกิตต่อปี) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ปี 80 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต) ตามแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์

 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของจุดเน้นและนโยบายดังกล่าว จึงจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีกำหนดการอบรม 2 วัน คือ วันที่ 21 – 22 กรกฎาคม 2567 ณ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนให้สามารถจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงวิชาประวัติศาสตร์สู่หลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะผู้เรียนได้ โดยวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จาก รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (นางสาวจรูญศรี แจบไธสง) ผู้อำนวยการศูนย์ PISA ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.สมเจตน์ พันธ์พรม) ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 (นายนราพงศ์ อาษารินทร์) และอาจารย์ประจำสำนักการศึกษาแบบองค์รวม สถาบันอาศรมศิลป์ (นายสืบศักดิ์ น้อยดัด) มีผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย ครูโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 60 คน จาก 21 โรงเรียน นางภัทราพรรณ กล่าวทิ้งท้าย

 

ขอขอบคุณภาพจาก : คณะทำงานกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มงานโรงเรียนสามัญศึกษา (กส.)

 

#เรียนดีมีความสุข #ศธ #สช #Opec #propec #การศึกษาเอกชน #ทำดีทำได้ทำทันที

 

รายการกิจกรรมผู้บริหารอื่นๆ